สรุปรวมบทเรียน ! รวมคำแนะนำเพื่อป้องกันเบาหวาน จากสมาคมโรคเบาหวาน
1 หาก ปฏิบัติตามคำแนะนำโดยนักกำหนดอาหาร หรือ นักโภชนาการ สามารถลด ค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม HbA1C ได้ถึง 0.5 - 2 % ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
2 ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน
ควรพยายามลดปริมาณพลังงาน น้ำตาล และไขมัน เพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ
และลดน้ำหนักให้ได้อย่างน้อย 7 % ของน้ำหนักตั้งต้น
เช่น น้ำหนัก 80 กิโลกรัม ควรลดให้ได้เหลือ 74 กิโลกรัม
ทั้งนี้ หากใครต้องการทราบว่า ควรลดน้ำหนักลงกี่กิโลกรัม สามารถทักแชท หรือ สอบถามนักกำหนดอาหารที่รพ. ได้นะคะ
3 พบว่า การทานอาหารโปรตีนสูง ช่วยลดการเกิดโรคเบาหวานในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน (prediabetes ) ได้
4. เน้นการได้รับคาร์โบไฮเดรต (หรือ อาหารหมวดข้าวแป้ง) จาก ผัก ธัญพืช ถั่ว ผลไม้ และนมจืดไขมันต่ำ เป็นประจำ
5 ใช้หลักการ "นับคาร์โบไฮเดรต" และ "อาหารแลกเปลี่ยน"
ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญ ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
(ใครอยากทบทวน เรื่องนับคาร์บฯ และ อาหารแลกเปลี่ยน จะใส่ลิงค์ไว้ให้ด้านล่างสุดนะคะ )
6 ไขมัน :
เลือกทานปลาที่มีไขมันสูง เป็นประจำ ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ (เช่น ปลาทู ปลากระพง ปลาอินทรีย์ ปลาช่อน ปลาแซลมอน)
7 โปรตีน : บริโภคปลาและไก่ เป็นหลัก
หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ใหญ่และเนื้อสัตว์แปรรูป (เช่น แฮม เบอคอน ไส้กรอก หมูยอ หมูแผ่น)
8 อย่าลืมหลักการ 2:1:1 ( ทานอาหารตามสัดส่วน ผักครึ่งจาน : เนื้อสัตว์ : ข้าวแป้ง)
และ 6:6:1 (ลดหวาน มัน เค็ม) ซึ่งหมายถึง น้ำตาลไม่เกิน 6ช้อนชา : ไขมัน 6ช้อนชา: เกลือ 1 ช้อนชา.
9 ไม่แนะนำให้ดื่มแอลกอฮอล์
หรือ ควรจำกัดปริมาณดื่ม 1ส่วน/วัน ในผู้หญิง และ 2 ส่วนต่อวันในผู้ชาย (1 ส่วนหมายถึง เบียร์ 330 มล. / ไวน์ 150 มล)
10. ออกกำลังกาย
ช่วยลด ภาวะการดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน
ออกกำลังกาย ช่วยลดเบาหวานได้ !
ถึงเวลาตอบคำถาม รับคะแนน 250 คะแนน !
ตอบคำถามในช่องว่าง นี้
1. ควรทานปลา อย่างน้อย _____ ต่อสัปดาห์
2 6:6:1 คือ ไม่ควรปรุง หรือ บริโภค ____6 ช้อนชา , ____ 6 ช้อนชา, ___ 1 ช้อนชา
เรียงเรียงจาก แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560
กฤดิ์ชนา หุตะแพทย์ นักกำหนดอาหารวิชาชีพ