ประเมินความเสี่ยงเบาหวานของคุณง่ายๆ ด้วยแบบประเมินความเสี่ยงเบาหวาน

ประเมินความเสี่ยงเบาหวานของคุณง่ายๆ ด้วยแบบประเมินความเสี่ยงเบาหวาน

เบาหวานไม่ใช่โรคที่เกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที แต่เกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทั้งที่สามารถควบคุมได้ และ ไม่สามารถควบคุมมันได้

**วันนี้เราลองมาประเมินความเสี่ยงเบาหวานของตัวเองกันค่ะ** เพราะยังไง การป้องกันก็ดีกว่าการรักษานะคะ

โดยการอ่านตามแต่ละข้อ แล้วนับคะแนนรวมนะคะ

แบบประเมินความเสี่ยงเบาหวาน (มีทั้งหมด 6 ข้อ)

1 อายุ

age

น้อยกว่า 34 ปี ( 0 คะแนน)

34 - 39 ปี (0 คะแนน)

45 - 49 ปี (1 คะแนน)

ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป (2 คะแนน)

2. เพศ

gender

หญิง (0 คะแนน)

ชาย (2 คะแนน)

3. ดัชนีมวลกาย (นำน้ำหนักหารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง)

BMI

ได้ต่ำกว่า 23 (0 คะแนน)

ตั้งแต่ 23 ขึ้นไป แต่น้อยกว่า 27.5 (3 คะแนน)

ตั้งแต่ 27.5 (5 คะแนน)

4 รอบเอว

waishtcircumferencepic

โดยผู้ชายและผู้หญิง จะคะแนนแตกต่างกัน คือ

ผู้ชาย

-รอบเอวน้อยกว่า 90 ซม. (0คะแนน)

-รอบเอวตั้งแต่ 90 ซม. ขึ้นไป. (2คะแนน)

ผู้หญิง

-รอบเอวน้อยกว่า 80 ซม (0คะแนน)

-รอบเอว ตั้งแต่ 80 ซม. ขึ้นไป (2 คะแนน)

5 ภาวะความดันโลหิตสูง ( ความดันมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90)

bloodpressurepiclesson

ไม่มีความดันโลหิตสูง (0 คะแนน)

มีความดันโลหิตสูง (2 คะแนน)

6.ข้อสุดท้าย

ประวัติโรคเบาหวานในญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ หรือ น้อง)

ไม่มี (0 คะแนน)

มี (4 คะแนน)

หลังจากทำแบบประเมินแล้ว ลองมาดูว่า ระดับความเสี่ยงของเราอยู่ในขั้นไหน ?

👉ผลรวมคะแนน น้อยกว่า หรือ เท่ากับ 2 -4 (ระดับความเสี่ยงเป็นเบาหวาน น้อย - ปานกลาง)

หมายถึง : ระดับความเสี่ยงเบาหวานของคุณอยู่ในเกณฑ์น้อย-ปานกลาง หรือมีโอกาสเกิดเบาหวานใน12 ปีข้างหน้าน้อยกว่า 5-10 %

แต่ ! อย่าเพิ่งชะล่าใจเกินไปนะคะ โรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่ได้แสดงอาการ

ข้อแนะนำ

- ควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และตรวจประเมินความเสี่ยงเบาหวานซ้ำในอีกทุกๆ 3 ปีค่ะ

health checkup

- อย่าลืมหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม และตรวจวัดความดันโลหิตด้วยนะคะ

walking

👉 ผลรวมคะแนนเท่ากับหรือมากกว่า 5 ( ระดับความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน สูง - สูงมาก)

หมายถึง โอกาสที่จะเป็นเบาหวานภายใน 12 ปีข้างหน้ามีถึงประมาณ 11-30%

ข้อแนะนำ

ควรรักษาสุขภาพให้ดี & ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือดนะคะ

bloodpressuremeasureexercisepiclesson

ถึงแม้ตอนนี้อาจจะไม่ได้มีอาการที่บ่งชี้ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน เช่น น้ำหนักตัวลด หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย รู้สึกอ่อนเพลีย แต่เบาหวานเป็นโรคที่ไม่ได้แสดงอากาจนกว่าจะมีน้ำตาลในเลือดสูงมาก และคนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มีกรรมพันธุ์เป็นเบาหวาน และ/หรือ โรคอ้วน,โรคความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยงที่ต่อเบาหวานมากกว่าคนทั่วไปค่ะ

quiz time

หลังจากอ่านแล้ว ลองตอบคำถามต่อไปนี้ เพื่อเก็บคะแนนสะสม (250 คะแนน) กันนะคะ

ข้อใด เป็นปัจจัยเสี่ยงของในแบบประเมินความเสี่ยงเบาหวาน

ก. เพศ อายุ รอบเอว ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิตสูง พันธุกรรม

ข. เพศ อายุ ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิตสูง พันธุกรรม

พิมพ์ ก หรือ ข มาในไลน์ Premier ได้เลยนะคะ

คำถามพิเศษ (ให้คะแนนสะสมเพิ่ม 250 คะแนน)

หากคุณได้ทำแบบประเมิน DM risk score ในบทเรียนนี้ คุณมีคะแนนเท่าไหร่ และจัดอยู่ในระดับใดคะ

------------------------------------

ผู้เขียน

กฤดิ์ชนา หุตะแพทย์ นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

**แหล่งอ้างอิง**

- https://form.jotform.com/203201408015437

-Standards of medical care in diabetes 2020, American diabetes association

-แนวทางเวชปฏิบัติโรคเบาหวาน 2560, โดยสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ,และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

-หนังสือเบาหวานฉบับเทพธารินทร์ โดย ศ.เกียรติคุณ นพ.เทพ หิมะทองคำ และทีมงานโรงพยาบาลเทพธารินทร์

-หนังสือเราจะไม่เป็นเบาหวานในชาตินี้ โดย สิรินาถ วงศ์ภรมนตรี