เช็คเบาหวานได้เร็วขึ้น ด้วยการตรวจน้ำตาลในเลือดแบบ OGTT
ปกติแล้วการตรวจเลือดเพื่อเช็คระดับน้ำตาลว่า น้ำตาลของเราอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ เราจะไปโรงพยาบาลเพื่อเจาะเลือดวัดระดับน้ำตาลกันใช่ไหมคะ ซึ่งเวลาเราไปเจาะเลือดที่โรงพยาบาล เรามักจะได้รับคำสั่งจากโรงพยาบาลว่า “ให้อดอาหารมาก่อน 8 ชั่วโมง”
แต่รู้หรือไม่คะ? ว่าการเจาะเลือดแบบอดอาหารไปแล้ว มีความไวในการบอกถึงน้ำตาลที่ผิดปกติ ได้น้อยกว่าการเจาะเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลหลังอาหาร หรือเรียกได้ว่า ใครที่ไม่ได้มีระดับน้ำตาลสูงจริงๆ อาจตรวจไม่พบว่ามีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน ปัจจุบันนี้ โรงพยาบาลต่างๆ จึงแนะนำให้ใช้การตรวจหาเบาหวานด้วยวิธีที่เรียกว่า “OGTT” หรือ การตรวจความทนต่อหรือน้ำตาลกลูโคส
OGTT คืออะไร ? ทำไมต้องวัดความทนทานต่อน้ำตาล ?
OGTT ย่อมาจาก “ Oral Glucose Tolerance Test หรือ การตรวจความทนต่อน้ำตาลกลูโคส”เป็นการวัดน้ำตาลในเลือดที่โรงพยาบาล แต่แตกต่างจากการเจาะเลือดวัดระดับน้ำตาลแบบปกติ คือ มีการเจาะเลือดทั้งหมด3ครั้ง โดยให้ดื่มสารละลายน้ำตาลปริมาณ 75 กรัม หลังเจาะเลือดวัดระดับน้ำตาลขณะอดอาหารไปครั้งแรก
OGTT เหมาะกับใคร?
OGTT เป็นวิธีที่เหมาะกับคนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานต่างๆ ดังนี้
คนที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน (มีกรรมพันธุ์เป็นเบาหวาน,อ้วน,รอบเอวเกินเกณฑ์,มีความดันโลหิตสูง) โดยเฉพาะคนที่ทำแบบประเมินความเสี่ยงเบาหวาน แล้วจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
ผู้หญิงที่เตรียมกำลังจะตั้งครรภ์ เพื่อช่วยวินิจฉัยและป้องกันการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
โดยเฉพาะคนที่มีบุตรคนก่อนหน้ำหนักมากกว่า4 กิโลกรัม และคนที่เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาแล้ว
คนที่เคยวัดระดับน้ำตาลมาแล้วและได้รับการวินิจฉัยว่าน้ำตาลในเลือดสูง ไม่ว่าจะเป็นการวัดที่โรงพยาบาล หรือ วัดน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเอง หรือหน่วยออกตรวจสุขภาพ และต้องการยืนยันผลอีกครั้ง
การทำ OGTT มีราคาแพงกว่าการเจาะน้ำตาลขณะอดอาหารแบบทั่วไป แต่มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยสำหรับคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ทำให้รู้ตัวได้เร็วว่ามีน้ำตาลสูง กลับไปปรับพฤติกรรมและป้องกันการเป็นเบาหวาน ได้อย่างทันท่วงที
ขั้นตอนการเจาะเลือด
-ครั้งที่ 1 หลังจากอดอาหารมาแล้ว 8 ชั่วโมง
-ครั้งที่ 2 หลังดื่มสารละลายกลุโคส 1 ชั่วโมง
- ครั้งที่3 หลังดื่มสารละลายกลูโคส 2 ชั่วโมง
การเจาะเลือดดูผลหลังจากดื่มสารละลายน้ำตาลไปแล้ว2 ชั่วโมงนั้น ก็เพื่อดูว่าร่างกาย
(หรือพูดให้ละเอียดยิ่งขึ้นก็คือ ตับอ่อน) สามารถจัดการ หรือ “เคลียร์” กับน้ำตาลที่เรากินเข้าไปปริมาณมากได้ดีเพียงใด ซึ่งหากร่างกายใครจัดการกับน้ำตาลได้น้อยตับอ่อน) สามารถจัดการ หรือ “เคลียร์” กับน้ำตาลที่เรากินเข้าไปปริมาณมากได้ดีเพียงใด ซึ่งหากร่างกายใครจัดการกับน้ำตาลได้น้อย ค่าน้ำตาลในเลือดก็จะแสดงผลออกมาว่า มีน้ำตาลในเลือดสูง
การแปลผลน้ำตาล
→หากค่าน้ำตาลหลัง2ชั่วโมงน้อยกว่า 140 มก./ดล. แปลว่า “ปกติ”
→หากค่าน้ำตาลหลัง2ชั่วโมง อยู่ในระหว่าง 140-199 มก./ดล.แปลว่า “ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน” (Impaired Glucose Tolerance, IGT)
ถ้าระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์นี้ ควรรีบปรับพฤติกรรม
เพราะตอนนี้เหมือนขาข้างหนึ่งของคุณเหยียบเข้าไปสู่เส้นแดงที่ขีดไว้ว่าจะเป็นหรือไม่เป็นเบาหวา
นแล้วนะคะ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากจะก้าวขาเข้าหาเบาหวานเต็มตัว หรือ
ก้าวหนีออกจากเบาหวานค่ะ
→หากน้ำตาลหลังอาหาร เท่ากับ หรือ มากกว่า 200 มก./ดล. จะถูกวินิจฉัยว่า “เป็นโรคเบาหวาน”
ถูกวินิจฉัยว่าเสี่ยง หรือ เป็นเบาหวานแล้ว ต้องทำอย่างไร ?
หากมีความเสี่ยง หรือ ถูกวินิจฉัยเป็นเบาหวานแล้ว ก็อย่าเพิ่งตกใจหรือเครียดเกินไปค่ะ ทุกปัญหามีทางออก ปัญหาเบาหวานก็เช่นกัน เบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นหลัก เพราะฉะนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ
สามารถช่วยควบคุมเบาหวานและระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน ยิ่งปรับเปลี่ยนตั้งแต่เริ่มต้นตั้งแต่วันแรกที่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน ก็ยิ่งช่วยลดโรคแทรกซ้อนที่เกิดตามมาได้ค่ะ
ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้จะทำ OGTT
การทำ OGTT มีข้อแนะนำเพิ่มเติมเล็กน้อยก่อนการไปเจาะเลือด คือ 3วันก่อนวันเจาะเลือด ควรทานอาหารแบบปกติ ไม่มากหรือน้อยเกินไปกว่าวันปกติของเรา อาหารที่ทานควรประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตประมาณ 150 กรัมต่อวัน (หรือข้าวแป้งประมาณ 8ทัพพี ) และ 1 วันก่อนเจาะเลือดไม่ควรออกกำลังกายหนักเกินไปค่ะ ทั้งนี้สามารถปรึกษาคุณหมอด้านเบาหวาน และนักกำหนดอาหารก่อนการไปตรวจน้ำตาลแบบOGTT ได้ค่ะ
หากรู้จักใครที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน ก็อย่าลืมส่งบทความนี้ให้เขาอ่านนะคะ …#เพราะเบาหวาน
ป้องกันได้ค่ะ : )